แก้บนขอพร ที่ ไอ้ไข่ วัดเจดีย์ คู่เมืองนคร วัดเจดีย์หรือวัดไอ้ไข่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 7 ตำบลฉลอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เคยเป็นวัดร้างที่เชื่อกันว่าสร้างมาเป็นเวลานับ1000 ปี มีเพียงเจดีย์โบราณเก่ารกร้างอยู่ตรงบริเวณที่กำลังสร้างโบสถ์ในปัจจุบัน จนเมื่อประมาณ พ.ศ.2500 มีการบูรณะวัดเจดีย์ขึ้นมาใหม่ มีพระเข้ามาอยู่ประจำ เป็นที่ปฏิบัติศาสนกิจของชาวบ้านใกล้เคียง และเป็นที่ประดิษฐานของ “พ่อท่าน” พระพุทธรูปเก่าแก่ที่อยู่มาตั้งแต่ยังป็นวัดร้าง
ไอ้ไข่วัดเจดีย์ หรือ ตาไข่วัดเจดีย์ คือรูปไม้แกะสลักของเด็กชายอายุประมาณ 9 -10 ขวบ ตั้งอยู่ในศาลาในวัดเจดีย์เชื่อกันว่าเป็นวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตย์อยู่ ณ วัดแห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านตั้งแต่ในละแวกใกล้วัดไปจนถึงต่างจังหวัดในแถบภาคใต้จากศรัทธาที่เชื่อกันว่า “ขอได้ไหว้รับ” โดยเฉพาะโชคลาภ และการค้าขาย
เรื่องราวของไอ้ไข่หรือตาไข่นั้น มีที่มาจากการที่ชาวบ้านแถวนั้นเคยเห็นภาพเด็กวิ่งเล่นอยู่ในบริเวณวัด เมื่อเข้าไปหาดูก็ไม่พบว่ามีเด็กมาพักอาศัยในบริเวณนั้นแต่อย่างใด เหตุการณ์เช่นนี้ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ ชาวบ้านจึงเรียกเด็กที่ปรากฏร่างนั้นว่า “เด็กวัด” ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นวิญญาณที่สถิตย์อยู่ ณ วัดเจดีย์แห่งนี้ และเรียกวิญญาณดวงนี้ว่าไอ้ไข่ ซึ่งเป็นคำที่ชาวบ้านในภาคใต้ใช้เรียกเด็กเล็กๆ เมื่อเชื่อกันว่าไอ้ไข่คือวิญญาณดวงหนึ่ง แต่ไม่มีใครเคยเดือดร้อนเพราะวิญญาณดวงนี้ นอกจากการปรากฏร่างให้เห็นก็อาจจะมีการล้อเล่นกับผู้ที่มาค้างแรมในวัด ไอ้ไข่ จึงเป็นที่รักชองชาวบ้าน ใครมีเรื่องเดือดร้อน วัว ควาย หมู ข้าวของสูญหาย ก็มาจุดธูปบนบานขอให้ช่วยกันหา ซึ่งก็มักจะประสพผลเสมอมา
ตำนานไอ้ไข่มีหลายเรื่องด้วยกัน บ้างก็ว่าไอ้ไข่คือวิญญาณเด็กที่ติดตามหลวงพ่อทวด เมื่อหลวงพ่อทวดธุดงค์มาถึงวัดร้างแห่งนี้ และรับรู้ด้วยญาณของท่านว่าที่นี้มีทรัพย์สินโบราณฝังอยู่ จึงให้วิญญาณดวงนี้เฝ้าดูแลปกปักษ์รักษาทรัพย์สินของแผ่นดิน อยู่ที่วัดแห่งนี้ตั้งแต่นั้นมา ในขณะที่บางตำนานก็ว่า ไอ้ไข่ คือเด็กลูกชาวบ้านแถวนั้นที่เคยวิ่งเล่นอยู่ในวัดตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นวัดโบราณ ต่อมาเด็กคนนั้นประสบอุบัติเหตุตกน้ำเสียชีวิต วิญญาณของเด็กน้อยคนนั้นซึ่งผูกพันอยู่กับวัดก็สถิตย์ที่วัดแห่งนี้ตลอดมา
แก้บนขอพร ที่ ไอ้ไข่ วัดเจดีย์ คู่เมืองนคร เมื่อปี พ.ศ. 2526 พ่อท่านเทิ่ม เจ้าอาวาสวัดเจดีย์ในขณะนั้นได้จัดสร้างเหรียญบูชาไอ้ไข่ เป็นรุ่นแรก พร้อมกับพัฒนาวัดเรื่อยมา ในเวลานั้นพื้นที่แถบนี้ยังมีความเคลื่อนไหวของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ได้มีกองร้อยทหารพรานมาตั้งฐานปฏิบัติการชั่วคราวอยู่ที่วัดเจดีย์ คืนแรกที่มาพักทหารทั้งกองแทบไม่ได้หลับได้นอน เพราะมีเด็กเที่ยวมาหยอกเล่น ดึงแขนดึงขา โดนปืนตีศีรษะบ้าง ล้มราวปืนบ้าง เป็นที่วุ่นวาย รุ่งขึ้นจึงได้เอาเรื่องนี้มาเล่าให้ชาวบ้านฟัง ซึ่งชาวบ้านก็ได้บอกเล่าให้ทหารกลุ่มนั้นได้รับรู้ถึงเรื่องราวของไอ้ไข่ และบอกให้ทหารกลุ่มนี้บอกกล่าวแก่ดวงวิญญาณไอ้ไข่ และเมื่อทำอาหารรับประทานให้แบ่งอาหารตั้งเป็นเครื่องเซ่นให้กับไอ้ไข่ด้วย เมื่อทำดังนั้นคืนต่อมาทุกอย่างก็สงบ ไม่มีเหตุการณ์รบกวนใดๆ เมื่อทหารพรานเอาเรื่องนี้มาเล่าให้คนภายนอกรู้ ชื่อเสียงของไอ้ไข่ก็รู้จักกันมากขึ้น
จากการที่ไอ้ไข่ เป็นที่นับถือมายาวนาน จึงมีผู้คิดว่าคนรุ่นหลังล้วนมีวัยน้อยกว่าไอ้ไข่ทั้งสิ้น จึงไม่ควรเรียก “ไอ้ไข่” ซึ่งอาจจะเป็นการลบหลู่ ควรเรียกใหม่ “ตาไข่” ซึ่งจะเป็นการเรียกที่ให้การนับถือมากกว่า แต่ด้วยความที่ทุกคนคุ้นเคยกับคำเรียกขานว่าไอ้ไข่ และภาพที่ทุกคนเห็นชินตาคือภาพของเด็กคนหนึ่ง คนส่วนใหญ่ก็ยังเรียกไอ้ไข่อยู่เช่นเดิม
ในวัดเจดีย์ เต็มไปด้วยสิ่งของที่ผู้เลื่อมใสศรัทธาเอามาแก้บน เช่น รูปไก่ชน ชุดทหาร หนังสติ๊ก ของเล่นต่างๆ เป็นต้น ส่วนบริเวณที่ให้จุดประทัด ก็มีเศษประทัดกองสูงเป็นเนินเขาย่อมๆ บ่งบอกถึงแรงศรัทธาที่มีต่อไอ้ไข่ และ แสดงถึงผลสัมฤทธิ์จากผู้ที่มาขอแล้วได้รับจากไอ้ไข่ ทุกวัน ผู้คนต่างหลั่งไหลไปขอพรจากไอ้ไข่ เราจะไม่ได้ยินเสียงโฆษณาชักชวนให้ทำบุญ ทุกคนที่มาเพราะความเลื่อมใสอย่างแท้จริง ทุกวันเสียงประทัดดังจะขึ้นตลอดเวลา ส่วนในวันอังคารและวันเสาร์ก็จะมีกลองยาวแก้บน มาแสดงให้ไอ้ไข่ดูวันนึงป็นสิบรอบกันทีเดียว
วันนี้วัดเจดีย์เจริญรุดหน้าไปมาก อุโบสถขนาดใหญ่ที่กำลังก่อสร้างคืบหน้าไปอย่างรวดเร็ว ปัจจัยต่างๆจากศรัทธาที่ผู้คนมีต่อไอ้ไข่หลั่งไหลเข้ามายังวัดเจดีย์แห่งนี้ ทั้งยังเผื่อแผ่ไปยังชาวบ้านที่อยู่รอบวัด ได้มีรายได้จากการจำหน่ายเครื่องบูชาไอ้ไข่ วิญญาณเด็กน้อยดวงนี้เป็นที่พึ่งทางใจของทุกคนที่เลื่อมใส บารมีของเด็กน้อยที่เรียกว่าเป็นเด็กวัด ได้รวบรวมศรัทธาจากมวลชน สร้างวัดเจดีย์แห่งนี้ขึ้นมาใหม่ เป็นวัดเจดีย์ที่สวยงาม มั่นคง ดำรงพระพุทธศาสนาสืบไป
ขอบคุณข้อมูล ที่มา คลิกที่นี่
ประวัติความเป็นมา จังหวัดนครศรีธรรมราช
นครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดในประเทศไทย มีประชากรมากที่สุดในภาคใต้และมีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ (รองจากสุราษฎร์ธานี) เป็นจังหวัดที่มีอำเภอมากที่สุดในภาคใต้ ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 780 กิโลเมตร มีจังหวัดที่อยู่ติดกันได้แก่ สงขลา พัทลุง ตรัง กระบี่ และ สุราษฎร์ธานี
นครศรีธรรมราช เป็นเมืองโบราณที่มีความสําคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และศาสนามากที่สุดเมืองหนึ่ง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นครศรีธรรมราชมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง มาไม่น้อยกว่า 1800 ปีมาแล้ว หลัก ฐานทางโบราณคดี และหลักฐานทางเอกสารที่ปรากฏในขณะนี้ยืนยันได้ ว่านครศรีธรรมราช
มีกําเนิดมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 เป็นอย่างน้อย
จากประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งนครศรีธรรมราช สามารถประมวลได้ว่า “นครศรีธรรมราช”ได้ปรากฏชื่อในที่ต่างๆ หลายชื่อตามความรู้ความเข้าใจที่สืบทอด กันมา และสําเนียงภาษาของชนชาติต่าง ๆ ที่เคยเดินทางผ่าน ในระยะเวลาที่ต่างกันเช่น ตามพลิงคม ตามพรลิงค์ มัทธาลิงคม ตามพลิงเกศวร โฮลิง โพลิง เชียะโท้ว โลแค็ก (Locae) สิริธรรมนคร ศรีธรรมราช ลิกอร์(Ligor) ละคอน คิวตูตอน สุวรรณปุระ ปาฏลีบุตร (Pataliputra) และเมือง นคร เป็นต้น
คำว่า”นครศรีธรรมราช” น่าจะมาจากสร้อยพระนามของปฐมกษัตริย์ ผู้ครอง นครศรีธรรมราช คือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช คํานี้ แปลความได้ว่า “นครอันงานสง่าแห่ง พระราชาผู้ทรงธรรม” และธรรมของราชา แห่งนครนี้ก็คือ ธรรมแห่ง พระพุทธศาสนา
ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต
จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ทางตอนกลางของภาคใต้ ห่างจากกรุงเทพมหานคร 780 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 9,942,502 ตร.กม หรือประมาณ 6,2 4,064 ไร่ มีพื้นที่มาก เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ และเป็นอันดับที่ 16 ของประเทศ หรือประมาณ ร้อยละ 1.98 ของ พื้นที่ทั้งประเทศ ที่ตั้งของตัวจังหวัด ตั้งอยู่ประมาณละติจูด 9 องศาเหนือและลองติจูด 100 องศาตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสุราษฏร์ธานีและอ้าวบ้านดอน
- ทิศใต้ ติดต่อกับอําเภอระโนด จังหวัดสงขลา อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง อําเภอห้วยยอดจังหวัดตรัง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทยเป็นชายฝังทะเล มีความยาวตั้งแต่ตอนเหนือของอําเภอขนอมลงไปทางใต้ของอําเภอหัวไทรประมาณ 225 กิโลเมตร
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุราษฏร์ธานีและจังหวัดกระบี่
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดนครศรีธรรมราช แตกต่างไปตามลักษณะ ของ เทือกเขานครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นเทือกเขาที่มีความยาวตามแนวยาวของคาบสมุทร เป็นผลให้ ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดนครศรีธรรมราช แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ1. บริเวณเทือกเขาตอนกลาง2. บริเวณที่ราบชายฝั่งด้านตะวันออก3. บริเวณที่ราบด้านตะวันตก
ค้นหาโปรแกรมทัวร์ไปท่องเทียวนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะไปขอโชคลาภ และ การค้าขาย แรงศรัทธาแห่งยุคนี้ คลิก
เข้าชมโปรแกรมท่องเที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลก ได้เลย คลิก
http://povtravel.co.th/
Booking.com