Point of view
วัน-เวลาทำการ : เราจะติดต่อกลับในเวลาทำการ : จันทร์ - ศุกร์ 09.00 - 17.00
(หยุดวันเสาร์ - อาทิตย์ และ วันหยุดตามปฏิทิน)
ติดต่อข่าวสารโปรโมชั่นทัวร์
qrcode
@povtravel

14 ที่ไปไหว้พระวัดดังพระนครศรีอยุธยา

กรกฎาคม 7, 2020 | by Point of view

14 ที่ไปไหว้พระวัดดังพระนครศรีอยุธยา สำหรับสาวกสายถ่ายรูป สายบุญ บอกเลยว่าห้ามพลาดทริปนี้ ไปเที่ยวอยุธยาแบบ คูลๆ อยู่ใกล้ กทม. แค่เอื้อมเพียง 75 กม. เท่านั้น ไปเที่ยวกันแบบอิ่มบุญ อิ่มท้อง ได้รูปสวยๆ ไปแบบวันเดียวก็เปรี้ยวก็คูลๆ ได้โดยไม่ต้องลาหยุด หรือมีอะไรมาหยุดเราได้ พร้อมแล้วก็ไปดูกันว่าอยุธยาเมืองเก่าของเราแต่ก่อน เมืองที่ได่ไปเยือนครั้งใด เวลาใด ก็เกิดความสุขทุกครั้ง ไปดูกันมีที่ไหนบ้าง

1.วัดใหญ่ไชยมงคล

14 ที่ไปไหว้พระวัดดังพระนครศรีอยุธยา - 1

วัดใหญ่ชัยมงคล ถือว่าเป็นวัดมีความสำคัญทางประวัติศาตร์มากที่สุดและเป็นวัดที่นักท่องเที่ยวนิยมมามากที่สุดวัดหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงเป็นธรรมดาที่จะพบเห็นนักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางมายังวัดแห่งนี้ จุดสนใจของวัดใหญ่ชัยมงคลนี้ คือเรื่องราวทางประวัติศาตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ชมเจดีย์ที่สูงที่สุดในอยุธยา ด้านหลังวัดมีตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ให้ผู้นับถือศรัทธาเข้ามากราบไหว้ นอกจากนี้ บริเวณ รอบๆ ยังมีมีสวนหย่อมที่สวยงามให้พักผ่อนอีกด้วยนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาเที่ยวอยุธยาจึงไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง

จุดที่น่าสนใจ เจดีย์ชัยมงคลอนุสรณ์แห่งชัยชนะอันยิ่งใหญ ่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงรบชนะ มังกะยอชวาพระมหาอุปราชของหงษาวดี ที่ต.หนองสาหร่าย จ.สุพรรณบุรีในครั้งนั้นพม่าได้ยกทัพเข้ามาในขอบขันฑสีมา สมเด็จพระนเรศวรฯ และสมเด็จพระเอกาทศรถผู้เป็นพระอนุชาจึงได้นำทัพไปรับศึก และได้ขับช้างเข้าไปอยู่ในวงล้อมของข้าศึกทีคอยระดมยิงปืนเข้าใส่พระและพระคชาธาร โดยที่เหล่าแม่ทัพนายกองวิ่งตามพะรองค์มาไม่ทันพระองค์จึงประกาศด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ไยในร่มไม้เล่าเชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีกษัตริย์ที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว พระอุปราชของพม่าจึงไสยช้างออกมากระยุทธถีด้วยกันในการทำยุทธหัตถีครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงใช้พระแสงพลผ่ายฟาดฟันพระอุปราชขาดตะพายแล่ง

เมื่อกลับมาสู่พระนครแล้ว พระองค์ก็จะลงโทษเหล่าทหารที่ตามพระไปไม่ทันตอนกระทำศึกยุทธหัตถี ซึ่งมากฏระะเบียบแล้วต้องโทษถึงขึ้นประหารชีวิต ช่วงเวลาที่รออาญาสมเด็จพระพันรัตน พระสังฆราชพร้อมด้วยพระสงฆ์ 25 รูปได้ขอให้พระนเรศวรพระราชทานอภัยยกเว้นโทษให้กับทหารเหล่านั้น โดยให้เหตุผลว่าพระองค์เปรียบดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่แวดล้อมด้วยหมู่มารก่อนที่จะตรัสรู้ เป็นการประกาศเกียรติและบารมีความกล้าหาญและเก่งกาจของพระองค์ให้ขจรกระจายไปทั่วแคว้นทั่วแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดให้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะและความมีน้ำพระทัยของพระองค์ ที่มีต่อเหล่าทหารเหล่านั้น และพระะราชทานนามว่า“เจดีย์ชัยมงคล”

2.วัดพนัญเชิงวรวิหาร

14 ที่ไปไหว้พระวัดดังพระนครศรีอยุธยา - 2

วัดพนัญเชิง เป็นวัดเก่าแก่และสำคัญวัดหนึ่งของอยุธยา มีชื่อเสียงระบือไปทั่วประเทศโดยเฉพาะหลวงพ่อโตหรือเจ้าพ่อซำปอกงที่พุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวจีนต่างให้ความเคารพนับถือมาช้านาน เมื่อมายังวัดแห่งนี้จะไม่แปลกที่จะต้องพบเจอผู้คนจำนวนมากที่ไหลเวียนมานมัสการหลวงพ่อโตกันอย่างเนืองแน่น

ประวัติ วัดพนัญเชิง เป็นวัดที่มีประวัติอันยาวนาน ก่อสร้างก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาและไม่ปรากฎหลักฐานที่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง ตามหนังสือพงศาวดารเหนือกล่าวว่าพระเจ้าสายน้ำผึ้งเป็นผู้สร้าง และพระราชทานนามว่า วัดเจ้าพระนางเชิงและในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐกล่าวไว้ว่า ได้มีการสถาปนาพระพุทธรูปพุทธชื่อ”พระเจ้าพแนงเชิง” เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๖๗ ซึ่งก่อนพระเจ้าอู่ทองจะสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึง ๒๖ ปี

จุดน่าสนใจ หลวงพ่อโตหรือพระพุทธไตรรัตนนายกพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองตอนปลาย ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๔.๒๐ เมตร สูง ๑๙.๒๐ เมตร วัสดุ ปูนปั้นลงรักปิดทองหลวงพ่อโตหรือพระพุทธไตรรัตนนายก หรือพระโตของชาวอยุธยาองค์นี้ ถือกันว่าเป็นพระโบราณคู่บ้านคู่เมืองกรุงศรีอยุธยามาแต่แรกสร้างกรุง พงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๖๘ หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สถาปนากรุงศรีอยุธยา ๒๖ ปีและเมื่อกรุงศรีอยุธยาใกล้จะแตกปรากฏในคำให้การขาวกรุงเก่าว่าพระปฏิมากรใหญ่ที่วัดพนัญเชิงมีน้ำพระเนตรไหลเป็นที่อัศจรรย์ หลวงพ่อโตเป็นพระองค์หนึ่งซึ่งเป็นที่เคารพนับถือในหมู่ชาวจีนมากโดยเรียกกันว่า“ซำปอกง” นอกจากชาวไทยแล้วยังมีผู้มีเชื้อสายจีนหลั่งไหลกันมากราบไหว้บูชาจำนวนมากและเป็นประจำทุกปี

3.วัดพุทไธศวรรย์

14 ที่ไปไหว้พระวัดดังพระนครศรีอยุธยา - 3

วัดพุทไธศวรรย์ เป็นพระอารามหลวงที่ใหญ่โตและมีชื่อเสียงวัดหนึ่ง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดพุทไธศวรรย์ ปรากฏตามตำนานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้นในบริเวณที่ซึ่งเป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับเมื่อทรงอพยพมาตั้งอยู่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ที่ตรงนี้มีชื่อปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า “ตำบลเวียงเล็กหรือเวียงเหล็ก” ครั้นเมื่อสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้ว ถึง พ.ศ. 1896 จึงโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเป็นพระราชอนุสรณ์ ณ ตำบลซึ่งพระองค์เสด็จมาตั้งมั่นอยู่แต่เดิม และพระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาก็คงจะได้โปรดให้สร้างถาวรวัตถุ เพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่างอนึ่ง เมื่อเสียกรุงฯ ในปี พ.ศ. 2310 วัดพุทไธศวรรย์ก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่มิได้ถูกพม่าทำลายเหมือนวัดอื่นๆทุกวันนี้จึงยังมีโบราณสถานไว้ชมอีกมากมาย

4.วัดไชยวัฒนาราม

14 ที่ไปไหว้พระวัดดังพระนครศรีอยุธยา - 4

วัดไชยวัฒนาราม เป็นวัดหนึ่ง ที่มีสถาปัตยกรรมการก่อสร้างไม่เหมือนวัดอื่นๆ ใน อยุธยา และเนื่องจากกรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะตลอดมาจนปัจจุบันนักท่องเที่ยวยังคงมองเห็นเค้าแห่งความสวยงามยิ่งใหญ่ตระการตา ซึ่งผู้ไปเยือนไม่ควรพลาด  วัดไชยวัฒนาราม ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งก็ตั้งอยู่ริม แม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันตกของเกาะเมือง 

14 ที่ไปไหว้พระวัดดังพระนครศรีอยุธยา วัดไชยวัฒนาราม สร้างบนพื้นที่ 160 เมตรยาว 310 เมตร โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออกกล่าวได้ว่าวัดนี้ตั้งตรงกับทิศทางคตินิยมในการสร้างวัดที่ปฏิบัติเป็นประเพณีสืบกันมานอกจากนี้ยังสอดคล้องกับเหตุการณ์ในพุทธประวัติที่กล่าวว่า พระโพธิสัตว์ทรงประทับภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำเนรัญชรา ทรงบำเพ็ญสมาธิจนบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ พระพุทธรูปซึ่งเป็นหลักของวัด ก็สร้างแทนองค์ประพุทธเจ้าคือพระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งเป็นปางที่แสดงเหตุการณ์ตอนพระพุทธองค์ตรัสรู้

5.วัดพระศรีสรรเพชญ์

14 ที่ไปไหว้พระวัดดังพระนครศรีอยุธยา - 5

วัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงเทพมหานครหรือวัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างพระราชมณเฑียรเป็นที่ประทับที่บริเวณนี้ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายพระราชวังขึ้นไปทางเหนือและอุทิศที่ดินเดิมให้สร้างวัดขึ้นภายในเขตพระราชวังและโปรดเกล้าฯให้สร้างเขตพุทธาวาสขึ้น เพื่อเป็นที่สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่างๆ จึงเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสถูปเจดีย์ใหญ่สององค์เมื่อ พ.ศ.2035 องค์แรกทางทิศตะวันออกเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระราชบิดาและองค์ที่สองคือองค์กลางเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระบรมเชษฐา ต่อมาในปี พ.ศ. 2042 ทรงสร้างพระวิหารขนาดใหญ่และในปี  พ.ศ.2043 ทรงหล่อพระพุทธรูปยืนสูง 8 วา (16 เมตร) หุ้มด้วยทองคำหนัก 286 ชั่ง (ประมาณ 171 กิโลกรัม) ประดิษฐานไว้ในวิหาร พระนามว่า “พระศรีสรรเพชญดาญาณ” ซึ่งภายหลังเมื่อคราวเสียกรุง พ.ศ. 2310 พม่าได้เผาลอกทองคำไปหมด  ในสมัยรัตนโกสินทร์พระบาท ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตรในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา  

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญชิ้นส่วนชำรุดของพระประธานองค์นี้ลงมากรุงเทพฯและบรรจุชิ้นส่วนซึ่งบูรณะไม่ได้เหล่านั้นไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นแล้วพระราชทานชื่อเจดีย์ว่า “เจดีย์สรรเพชญดาญาณ”  สำหรับเจดีย์องค์ที่สามถัดมาทางทิศตะวันตก สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระหน่อพุทธางกูร) พระราชโอรสได้โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เจดีย์สามองค์นี้เป็นเจดีย์แบบลังกา ระหว่างเจดีย์แต่ละองค์มีมณฑปก่อคั่นไว้ซึ่งคงจะมีการสร้างในราวรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และมีร่องรอยการบูรณ ะ

6.วัดมหาธาตุ

เป็นปรางค์ที่สร้างในระยะแรกของสมัยอยุธยาซึ่งได้รับอิทธิพลของปรางค์ขอมปนอยู่ ชั้นล่างก่อสร้างด้วยศิลาแลงแต่ที่เสริมใหม่ตอนบนเป็นอิฐถือปูน สมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้ทรงปฏิสังขรณ์พระปรางค์ใหม่โดยเสริมให้สูงกว่าเดิม แต่ขณะนี้ยอดพังลงมาเหลือเพียงชั้นมุขเท่านั้น จึงเป็นที่น่าเสียดายเพราะมีหลักฐานว่าเป็นปรางค์ที่มีขนาดใหญ่มากและก่อสร้างอย่างวิจิตรสวยงามมากเมื่อ พ.ศ. 2499 กรมศิลปากรได้ขุดแต่งพระปรางค์แห่งนี้ พบของโบราณหลายชิ้นที่สำคัญ คือ ผอบศิลา ภายในมีสถูปซ้อนกัน 7 ชั้น แบ่งออกเป็น ชิน เงิน นาก ไม้ดำ ไม้จันทร์แดง แก้วโกเมน และทองคำ ชั้นในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและเครื่องประดับอันมีค่า ปัจจุบันพระบรมสารีริกธาตุนำไปประดิษฐานไว้ที่พิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา  สิ่งที่น่าสนใจในวัดอีกอย่างคือ เศียรพระพุทธรูปหินทราย ซึ่งมีรากไม้ปกคลุมเข้าใจว่าเศียรพระพุทธรูปนี้จะหล่นลงมาอยู่ที่โคนต้นไม้ในสมัยเสียกรุงจนรากไม้ขึ้นปกคลุมมีความงดงามแปลกตาไปอีกแบบ ตั้งอยู่เชิงสะพานป่าถ่าน ทางทิศตะวันออกของวัดพระศรีสรรเพชญ์ พงศาวดารบางฉบับกล่าวว่าวัดนี้สร้างในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ต่อมาสมเด็จพระราเมศวรโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ใต้ฐานพระปรางค์ประธานของวัดเมื่อ พ.ศ.1927

7.วิหารพระมงคลบพิตร

วิหารพระมงคลบพิตร ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่มาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นพลังความเชื่อทางศาสนาที่ไม่อาจจะแยกออกได้จากอุดมคติในทางสังคมและการเมือง ทั้งเป็นประจักษ์พยานถึงความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับศาสตร์แห่งโลหะและความสามารถในการหล่อโลหะโดยเฉพาะสำริดซึ่งเป็นโลหะที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งในสมัยอยุธยาด้วย

ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปคุ้มขุนแผน วิหารพระมงคลบพิตรจะอยู่ถัดไปไม่ไกลนัก พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 9.55 เมตร และสูง 12.45 เมตร นับเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นระหว่างปี พ.ศ. 1991–2145 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดเกล้าฯให้ย้ายจากทิศตะวันออกนอกพระราชวังมาไว้ทางด้านทิศตะวันตกที่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบันและโปรดเกล้าฯให้ก่อมณฑปสวมไว้ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ เมื่อปี พ.ศ. 2249 อสุนีบาตตกลงมาต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตรเกิดไฟไหม้ทำให้ส่วนบนขององค์พระมงคลบพิตรเสียหายจึงโปรดเกล้าฯให้ซ่อมแซมใหม่ แปลงหลังคายอดมณฑปเป็นมหาวิหารและต่อพระเศียรพระมงคลบพิตรในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ. 2285–2286) ในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 วิหารพระมงคลบพิตรถูกข้าศึกเผาเครื่องบนโทรมลงมาต้องพระเมาฬีและพระกรขวาของพระมงคลบพิตรหัก  รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้การปฏิสังขรณ์ใหม่ สำหรับบริเวณข้างวิหารพระมงคลบพิตรทางด้านทิศตะวันออกแต่เดิมเป็นสนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับสร้างพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์และเจ้านายเช่นเดียวกับท้องสนามหลวงของกรุงเทพฯ

8.วัดธรรมิกราช

วัดธรรมิกราช ที่นี่เป็นวัดหลวงเก่าแก่ที่พระมหากษัตริย์เสด็จมาฟังธรรมกันประจำในวันพระ สร้างขึ้นโดย พระยาธรรมิกราชโอรสของพระเจ้าสายน้ำผึ้ง ที่นี่ยังเป็นสถานที่สอบเปรียญธรรมสำหรับพระสงฆ์ในสมัยโบราณอีกด้วย

จุดเด่นที่สำคัญคือ เป็นวัดที่มีการพบเศียรพระธรรมิกราชซึ่งนับเป็นเศียรพระพุทธรูปสำริดที่มีขนาดใหญ่สุด และมีความสำคัญมากที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา และเจดีย์ทรงกลมที่มีปูนปั้นรูปสิงห์ล้อมที่หาชมได้ยาก

9.วัดราชบูรณะ

ภาพจากแฟนเพจ: Phuritwisit Pk
www.facebook.com/phuritwisitpk

วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณเชิงสะพานป่าถ่าน ติดกับวัดมหาธาตุทางบริเวณทิศตะวันออก ห่างจากพระราชวังโบราณ เพียงเล็กน้อยจัดเป็นหนึ่งในวัดที่ใหญ่และมีความเก่าแก่มากที่สุดในพระนครศรีอยุธยา สร้างโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา ในปี พ.ศ. 1967 วัดราชบูรณะมีชื่อเสียงและความโด่งดังมากในเรื่องการถูกกลุ่มคนร้ายจำนวนหนึ่ง ลักลอบขุดกรุภายในพระปรางค์ประธาน ในปี พ.ศ. 2499 และช่วงชิงทรัพย์สมบัติจำนวนมากมายมหาศาลหลบหนีไป ต่อมากรมศิลปากรเข้าทำการบูรณะขุดแต่งต่อภายหลัง พบทรัพย์สมบัติที่หลงเหลือและเครื่องทองจำนวนมากมาย ปัจจุบันทรัพย์สมบัติภายในกรุถูกเก็บรักษาไว้ที่ห้องราชบูรณะ ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา

10.วัดวชิรธรรมาราม

ขอบคุณภาพที่มา ‎Joe On Tour‎ ถึง ว่างป่าว….ไปเที่ยวกัน….??

วัดวชิรธรรมาราม แม้วัดนี้ จะไม่ใช่วัดที่สร้างขึ้นต้องแต่สมัยเก่าก่อนแต่บริเวณแห่งนี้เคยเป็นเส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระเนรศวรมหาราชมาก่อน พระพุทธอุทยานมหาราช วัดวชิรธรรมารามแห่งนี้ โดดเด่นด้วยรูปปั้นหลวงปู่ทวดสีทองอร่ามที่ใหญ่ที่สุดในโลก ภายในอุทยานร่มรื่นล้อมรอบไปด้วยน้ำมีตลาดหลวงปู่ทวดขายสินค้าพื้นบ้านและสินค้าโอทอป นอกจากนี้วัดวชิรธรรมารามยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธเมตตาเสนานาถที่ปลุกเสกในโบสถ์วัดพระแก้ว ได้รับพระราชทานนามจากในหลวง ร.9 พร้อมพระราชทานอักษร ภปร. ไว้บนผ้าทิพย์อีกด้วย

11.วัดหน้าพระเมรุ หรือ วัดพระเมรุราชิการามวรวิหาร

ภาพจาก go.ayutthaya.go.th

วัดหน้าพระเมรุ หรือ วัดพระเมรุราชิการามวรวิหาร ตั้งอยู่ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ริมคลองสระบัวด้านเหนือของคูเมือง (แม่น้ำลพบุรีเก่า) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง มีชื่อเดิมว่า “วัดพระเมรุราชการาม”

แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด พิจารณาได้ว่า น่าจะเป็นวัดสร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งต้นสมัยอยุธยา มีแต่เพียงตำนานกล่าวว่าพระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2046 แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน

วัดหน้าพระเมรุเป็นหนึ่งวัดในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย และยังคงสภาพที่ดีมาก บ้างสันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะพม่าได้ไปตั้งกองบัญชาการอยู่ที่วัดนี้กับวัดหัสดาวาส (ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้างและยังเหลือสิ่งก่อสร้างที่ไม่ถูกทำลายอยู่บ้าง

พระอุโบสถของวัดหน้าพระเมรุเป็นแบบอยุธยาซึ่งมีเสาอยู่ภายใน แต่น่าจะมาเพิ่มเสารับชายคาที่หลังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระประธานในอุโบสถซึ่งสร้างปลายสมัยอยุธยา หรือได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในช่วงนั้น เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหล่อสำริดขนาดใหญ่ ด้านหลังพระอุโบสถยังมีอีกองค์หนึ่งแต่เล็กกว่า คือ พระศรีอริยเมตไตรย์

สิ่งสำคัญที่ปรากฏภายในวัดนี้ คือ พระอุโบสถและพระพุทธรูปประธานทรงเครื่องใหญ่ ซึ่งอาจจะได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หน้าบันของพระอุโบสถเป็นไม้แกะสลักปิดทองที่แสดงรูปนารายณ์ทรงครุฑยุดนาคประทับราหูแวดล้อมด้วยเหล่าเทวดา

12.พระราชวังบางปะอิน

ภาพจาก ayutthayajourney

พระราชวังบางปะอิน สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททองในปี พ.ศ. 2175 และให้ขุดสระน้ำขึ้นกลางเกาะบางปะอิน สร้างพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ขึ้นริมสระ เมื่อกรุงฯ แตกจึงถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง จนถึงรัชกาลที่ 4 ได้มีการบูรณะขึ้นมาใหม่ และในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าให้สร้างพระที่นั่งต่างเพิ่มขึ้นอีกหลายองค์เพื่อใช้เป็นที่ประทับ และออกว่าราชการในการเสด็จประพาสอยุธยา และใช้เป็นที่รับรองแขกบ้านแขกเมือง

? ที่อยู่ : อ.บางปะอิน ต.ตำบลบ้านเลน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา

13.วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร

วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา
ประวัติวัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร รัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อทรงใช้เป็นสถานที่สำหรับบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อครั้งเสด็จฯ แปรพระราชฐานมาประทับที่พระราชวังบางปะอิน โดยใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมโกธิคและเลียนแบบโบสถ์คริสต์ในการก่อสร้าง

14.วัดพระงามคลองสระบัว

ภาพจาก go.ayutthaya.go.th

วัดพระงามคลองสระบัว เป็นโบราณสถานที่มีเอกลักษณ์ คือ ซุ้มประตูที่ถูกรากไม้ปกคลุมโดยรอบอย่างงดงาม เรียกกันว่า “ประตูแห่งกาลเวลา” เมื่อลอดผ่านประตูนี้เข้าไป ก็จะเป็นซากวัดเก่า มีจุดไหว้พระ และเจดีย์แปดเหลี่ยมเป็นประธานของวัด

สนใจเดินทางไปท่องเที่ยว เมืองกรุงเก่า ไปได้ทุกวัน เที่ยวได้ทุกฤดูกาล ใกล้กรุงเทพฯที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยากับหมีพอยท์ได้เลย คลิกชมโปรแกรมได้ที่นี่

สนใจเข้าชมโปรแกรมทัวร์ทั่วโลก ได้เลย คลิกที่นี่ https://povtravel.co.th/
หรือติดต่อ 099 058 8778 , 065 213 7788 , 086 542 4662 หรือที่เมล์ info@povtravel.co.th

Booking.com