เที่ยวอินเดีย ดินแดนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานกว่า 5,000 ปี เป็นถิ่นกำเนิดศาสดาและศาสนาสำคัญของโลก รวมถึงศิลปวัฒนธรรมประเพณี ที่เป็นเอกลักษณ์อีกทั้งยังเป็นต้นแบบด้านวัฒนธรรมไปยังภูมิภาครอบข้าง ซึ่งประเทศไทยเราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ต้องยอมรับว่า วัฒนธรรม ประเพณี และศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อแนวทางการดำเนินชีวิตของเรานั้น ล้วนแล้วมีต้นรากมาจาก “ ประเทศอินเดีย ” แทบทั้งสิ้น ดังนั้นเรามารู้จักประเทศนี้กันสักหน่อยดีกว่า ดินแดนภารตะ หนึ่งในประเทศมีที่เที่ยวสวยๆเพียบ นอกจากแลนด์มาร์คสุดฮิตตลอดกาลอย่าง ทัชมาฮาล แล้ว ประเทศอินเดียยังมีที่เที่ยวทางประวัติศาสตร์และมีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่ทะเลไปจนถึงภูเขา เราจะพาไปดู
เที่ยวอินเดีย ราคาถูก โดยบริษัททัวร์คุณภาพ หลากหลายเส้นทางโปรแกรม ทัวร์อินเดียคลิก
เที่ยวอินเดีย คำแนะนำในการเตรียมตัวไปแสวงบุญสักการะสังเวชนียสถานในอินเดียและเนปาล
นอกจากการเตรียมใจที่เป็นบุญแล้ว ยังต้องเตรียมสภาพจิตใจให้พร้อมที่จะเผชิญกับความแตกต่างทางวัฒนธรรม ความยากลำบากในการเดินทาง และสุขอนามัยต่าง ๆ ที่บ่อยครั้งก่อให้เกิดความรำคาญจนทำให้การมาทำบุญกลับไม่ได้รับความสบายใจกลับไป แต่ถ้าท่านทั้งหลายแตรียมใจให้พร้อมแล้ว บุญกุศลที่ทำในครั้งนี้ก็จะได้กลับไปอย่างเปี่ยมล้มเลยที่เดียว เคยมีคนกล่าวกับผู้เขียนว่า “อยากมาไหว้พระที่อินเดีย แต่กลัวสกปรก กลัวร้อน กลัวขอทาน กลัวหนู กลัวห้องน้ำไม่สะอาด กลัวกินอาหารแขกไม่ได้” ผู้เขียนจึงได้บอกกลับไปว่าถ้ายังมีความกลัวเหล่านี้อยู่ ก็อย่าเพิ่งมาอินเดียเลย แปลว่าคุณยังไม่พร้อมทั้งกายและใจที่จะมาได้รับบุญ
1. เตรียมใจ
เที่ยวอินเดีย การไปอินเดียถือว่าเป็นการไปแสวงบุญในฐานะชาวพุทธที่ต้องการสักการะและบูชาคุณพระพุทธเจ้า ดังนั้นการไปสักการะสถานที่ดังกล่าวเหล่านี้ ถือว่าไประลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและให้เกิดสติ ปลงธรรมสังเวชว่าทุกอย่างย่อมมีเหตุ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป เป็นของธรรมดา ในฐานะชาวพุทธจึงถือเป็นการไปสักการะพระพุทธองค์ที่ตรงจุดที่สุด ณ สถานที่จริง เป็นการตามรอยพระพุทธบาทในดินแดนพุทธภูมิ ทั้งนี้ เป็นที่ยอมรับกันว่าในฐานะพุทธมามะกะ ควรหาโอกาสไปสักครั้งหนึ่งในชีวิต
2. เตรียมกาย
เที่ยวอินเดีย การเดินทางไปแสวงบุญโดยปกติใช้เวลา ประมาณ 7-10 วัน เดินทางโดยเครื่องบินจากกรุงเทพฯ ไปลงที่คยาหรือพาราณสี จากนั้นนั่งรถบัสไปยังสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง ทั้งในอินเดียและเนปาล ซึ่งเวลาในการเดินทางโดยรถยนต์นั้นนาน บางช่วงเดินทางทั้งวัน การเตรียมสุขภาพให้พร้อมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรหารือแพทย์ว่าจะสามารถเดินทางไกลได้หรือไม่ หรือหากเดินทางได้ ก็ควรเตรียมยาประจำตัวและสมุดสุขภาพเป็นภาษาอังกฤษไปด้วย เผื่อกรณีฉุกเฉิน จะได้มีข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้อง การเตรียมกายเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งต้องตระหนักว่าท่านต้องสามารถช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง หากเป็นผู้สูงอายุ แม้จะมีคนดูแลแต่ก็ต้องสามารถดูแลตัวเองได้ ท่านที่ทราบว่าแพ้อะไร ก็ควรเตรียมยารักษาโรคนั้นไปด้วย รวมทั้งสุขภัณฑ์พกพาประจำตัวที่ท่านต้องใช้ในระหว่างการเดินทาง อาทิ กระดาษทิชชู่เปียก เจลล้างมือ ฯลฯ เพื่อรักษาความสะอาด รวมทั้งเสื้อผ้าที่เหมาะสมสำหรับการไปแสวงบุญ ทั้งนี้ ช่วงฤดูการแสวงบุญจะอยู่ในช่วงอากาศหนาว จึงต้องเตรียมเสื้อผ้าและอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม และควรเตรียมอุปกรณ์กันฝุ่นหากเป็นผู้ที่มีอากาศแพ้ฝุ่นหรือเป็นผู้สูงอายุ เนื่องจากการเดินทางต้องเผชิญฝุ่นควันตลอดเวลา
ในปัจจุบันนับว่าเป็นบุญของผู้แสวงบุญที่พระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล นำโดยพระเดชพระคุณพระธรรมโพธิวงศ์ ได้จัดทีมแพทย์มาประจำการที่เมืองคยา และกุสินารา ในช่วงฤดูการแสวงบุญ มีรถพยาบาลเคลื่อนที่เร็วในกรณีฉุกเฉิน อีกทั้งมีการสร้างจุดแวะพักระหว่างทางไปสังเวชนียสถานต่างๆ ที่เป็นทั้งวัด ทั้งร้านขายของที่ระลึก และห้องสุขาที่สะอาด ที่ผู้เขียนมักจะบอกใคร ๆ ว่าสามารถเอาตัวลงไปนอนในห้องน้ำนั้นได้อย่างสบาย ๆ
3. เตรียมข้อมูล
เมื่อตัดสินใจว่าจะไปแสวงบุญ และได้เตรียมตัวเตรียมกายแล้ว สิ่งที่ต้องทำก็คือหาข้อมูลของการเดินทาง ข้อมูลบริษัททัวร์ที่จะใช้บริการซึ่งก็หาไม่ยากนักจากอินเตอร์เน็ต ทั้งนี้ ใน พ.ศ. 2559 ผู้เขียนมักได้รับการร้องเรียนจากผู้แสวงบุญว่าถูกบริษัททัวร์หลอก เช่น ไม่ชี้แจงให้ชัดเจนว่าจะต้องนอนบนรถทัวร์ทุกวัน หรือให้บริการแลกเงินบาทเป็นเงินรูปีในอัตราแลกเปลี่ยนที่เอาเปรียบลูกทัวร์ หรือแม้กระทั่งทิ้งลูกทัวร์ไว้ในบางสถานที่โดยไม่นับจำนวนลูกทัวร์ให้ครบถ้วนก่อนออกเดินทาง ดังนั้น การเลือกบริษัททัวร์ที่น่าเชื่อถือ และอ่านรายละเอียดการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหารให้ชัดเจน ก็จะป้องกันความไม่สะดวกที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังได้ นอกจากนั้นการอ่านข้อมูลคร่าวๆ ของสถานที่ต่าง ๆ ก่อนเดินทางถึงสถานที่จริงจะยิ่งทำให้การเดินทางมาแสวงบุญนั้น น่าประทับใจและเป็นที่จดจำ
ข้อมูลทึ่สำคัญอีกส่างที่ควรรู้ คือ พุทธคยานี้อยู่ในรัฐพิหารซึ่งอยู่ในเขตอาณาของสถานกงสุลใหญ ณ เมืองกัลกัตตา ในส่วนของสารนาถ สถานที่ปฐมเทศนาและกุสินารา สถานที่ปรินิพพาน อยู่ในรัฐอุตตระประเทศซึ่งอยู่ในเขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ส่วนลุมพินีอยู่ในการดูแลของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกาฏมาณฑุ (ประเทศเนปาล) ดังนั้น หากผู้แสวงบุญต้องการติดต่อหน่วยงานที่ใกล้ที่สุดในระหว่างแสวงบุญก็สามารถติดต่อสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตตา (+91 9830260382) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี (+91 9599321484) และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกาฐมาณฑุ (เนปาล) (+977 9801069233) ได้
4. เตรียมเดินทาง
การเตรียมการเดินทางก็คือการเตรียมสัมภาระ เสื้อผ้า อุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งยารักษาโรค ซึ่งมีข้อแนะนำ ดังนี้
- นำเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับการเดินทางโดยรถยนต์และที่ใส่สบายเหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม
- เสื้อผ้าสำหรับอากาศหนาว
- ไฟฉายและยากันยุง
- อย่านำของมีค่าติดตัวไป
- เตรียมยารักษาโรคประจำตัวและของใช้ส่วนตัว
- เตรียมเงินไปให้เหมาะสมและพอดีกับการเดินทาง 10 วันรวมทั้งสำหรับการทำบุญตามวัดต่างๆ ซึ่งหากเป็นวัดไทย สามารถทำบุญด้วยเงินไทยหรือเงินเหรียญสหรัฐฯได้ นอกนั้นเป็นเงินรูปีอินเดีย
- มือถือควรขอใช้บริการโทรระหว่างประเทศ หรือมาซื้อซิมของอินเดียใช้โทรกลับประเทศไทย
- หนังสือเดินทางควรเก็บรักษาให้ดีและถ่ายเอกสารทำสำเนาไว้
- สถานที่ท่องเที่ยวบางแห่งในอินเดียอาจไม่อนุญาตให้นำโทรศัพท์มือถือเข้าไปด้วย ซึ่งหากพลัดหลงกันจะทำให้ผู้แสวงบุญไม่สามารถติดต่อบริษัททัวร์ได้ ผู้แสวงบุญจึงควรจดเบอร์โทรศัพท์ของบริษัททัวร์ และเบอร์โทรสถานเอกอัครราชทูตฯ ติดตัวไว้เสมอ เพื่อให้สามารถขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ในสถานที่ท่องเที่ยวนั้น ๆ ให้โทรศัพท์แจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องให้ได้
5. การเตรียมพร้อมระหว่างการเดินทาง
ในระหว่างการเดินทาง สิ่งที่ท่านจะต้องเจอ มีดังนี้
- ความไม่สะอาดของสถานที่และสิ่งของในระหว่างการเดินทาง จึงควรเตรียมสุขภัณฑ์ทำความสะอาดส่วนตัวไปด้วย
- การดื่มน้ำควรซื้อที่เป็นขวดที่มีมาตรฐานหรือที่เป็นกระป๋องเท่านั้น
- อาหารควรเป็นอาหารที่ทัวร์แนะนำเท่านั้น
- คนขายของข้างทางที่จะคะยั้นคะยอให้ซื้อของ ควรต่อรองราคาเท่าที่จะทำได้ หากไม่สนใจ ให้เดินผ่านโดยไม่ต้องแสดงความสนใจ
- อย่าออกนอกกลุ่มหรือเส้นทางโดยลำพัง หากเกิดปัญหาต่างๆ ให้รีบแจ้งหัวหน้าทัวร์
- การเดินทางไปตามสังเวชนียสถานเป็นการเดินทางที่ยาวนานระหว่างจุดหมาย และระหว่างทางก็มักจะไม่มีจุดจอดรถที่เหมาะสมมากนัก ยกเว้นวัดไทย ห้องน้ำอาจไม่สะอาดเท่าที่ควร ผู้แสวงบุญจึงควรทำใจและเตรียมพร้อมสำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยปรึกษาหัวหน้าทัวร์ทุกการเดินทางระหว่างวัน
- การพักในวัดไทย ควรรักษากริยา มารยาทและสำรวมเพราะอยู่ในเขตวัด และรักษาความสะอาดให้กับสถานที่ทุกครั้ง
- กรณีหนังสือเดินทางหาย ต้องติดต่อสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา หรือ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ให้ออกเอกสารเดินทางกลับประเทศจึงจะสามารถเดินทางกลับได้ ทั้งนี้ หลีกเลี้ยงการหยิบหนังสือเดินทางออกมาดูในที่ที่มีคนพลุกพล่าน เพราะอาจถูกขโมยหรือวิ่งราวได้
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี
20 สิงหาคม 2560
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Royal Thai Embassy, New Delhi
เที่ยวอินเดีย รู้จักประเทศอินเดีย…กัน ครับ
• ประเทศอินเดีย (India) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย มีประชากร 1.13 พันล้านคน (มากเป็นอันดับ 2 ของโลก) มีพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร (ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก)
• เมืองหลวง กรุงนิวเดลี (New Delhi)
• เมืองมุมไบเป็นศูนย์กลางทางการค้า การเงิน และการคมนาคม เป็นเมืองท่าสำคัญ และเป็นแหล่งผลิตภาพยนตร์ฮินดีที่ใหญ่ที่สุด
• เมืองบังกาลอร์ เป็นเมืองศูนย์กลางของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์ การบิน และอวกาศ
• เมืองเจนไนเป็นศูนย์กลางธุรกิจในภาคใต้ของอินเดีย อุตสาหกรรมหลัก คือ อุตสาหกรรมรถยนต์
• เมืองกัลกัตตา เป็นเมืองหลวงเก่าของอินเดีย และเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2
• ภูมิอากาศ มีสภาพภูมิอากาศแตกต่างกันอย่างมากเนื่องจากมีพื้นที่กว้างใหญ่ ตอนเหนืออยู่ในเขตหนาว ขณะที่ตอนใต้อยู่ในเขตร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยในที่ราบช่วงฤดูร้อน ประมาณ 35 องศาเซลเซียส และฤดูหนาว ประมาณ 10 องศาเซลเซียส
• ภาษา ภาษาฮินดีเป็นภาษาที่ใช้โดยประชาชนส่วนใหญ่ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในวงราชการและธุรกิจ นอกจากนั้นยังมีภาษาท้องถิ่นอีกนับร้อยภาษา แต่ที่ใช้กันมากมี 14 ภาษา คือ อูรดู เตลูกู เบงกาลี ทมิฬ และปัญจาบี
• ศาสนา ฮินดู ร้อยละ 81.3 มุสลิมร้อยละ 12 คริสต์ร้อยละ 2.3 ซิกข์ร้อยละ 1.9 อื่น ๆ (พุทธ และเชน) ร้อยละ 2.5
• วันสำคัญ วันชาติ (Republic Day) วันที่ 26 มกราคม
• ระบบการปกครอง อินเดียเป็นประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ แบ่งออกเป็นรัฐต่างๆ 28 รัฐ