Heaven on earth สกายวอล์ค ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง ที่เบตง “สกายวอล์ค ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง” เบตง เปิดให้ขึ้นเที่ยวแล้ว ตื่นตาทะเลหมอกสุดอลังการ
“สกายวอล์ค ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง” แลนด์มาร์คใหม่ อ.เบตง จ.ยะลา สร้างเสร็จแล้ว ตั้งแต่วันที่ 25 ก.ย. 63 เปิดให้เข้าชมได้ใน เวลา 05.30-09.30 ทุกวัน จำกัดจำนวนขึ้นได้สูงสุดไม่เกิน 360 คน
ดร.อารีย์ หนูชูสุข ปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล รักษาการนายกอบต.อัยเยอร์เวง โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวบัญชีรายชื่อ “Aree Mink Nhuchoosuk(วิถีชน คนนอกกรอบ)” เปิดเผยว่า “สกายวอล์ค ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง” แลนด์มาร์คใหม่ อ.เบตง เปิดให้ขึ้นชมทะเลหมอก อย่างไม่เป็นทางการได้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 63 ที่ผ่านมา ในระหว่างเวลา 05.30-09.30 ทุกวัน โดยจำกัดจำนวนขึ้นได้สูงสุดไม่เกิน 360 คน และ นักท่องเที่ยวต้องปฏิบัติตามกฎขั้นต้นที่วางไว้
สำหรับสกายวอล์ค ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง จะเปิดให้ขึ้นชมอย่างเป็นทางการในราวปลายเดือนตุลาคม 2563 โดยเบื้องต้นเก็บค่าบริการ คนไทย 50 บาท ต่างชาติ 100 บาท พร้อมถุงหุ้มรองเท้าเพื่อป้องกันพื้นกระจกที่ระเบียงชมวิวเสียหาย โดยถุงเท้าดังกล่าวจะให้ชุมชนในพื้นที่ผลิต เพื่อสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน
นอกจากนี้ยังมีการกำหนดระเบียบการขึ้นชมเบื้องต้น ว่า จะให้ขึ้นชมรอบละ 40 – 50 คน แล้วเคลื่อนที่ไป 4 – 5 จุด ใช้เวลาจุดละไม่เกิน 15 นาที โดยใช้เวลาทั้งหมดบนสกายวอล์คราว 1 ชั่วโมง (เป็นแนวคิดเบื้องต้นอย่างไม่เป็นทางการ ที่ต้องรอสรุปชัดเจนอีกครั้ง)
Heaven on earth สกายวอล์ค ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง ที่เบตง สำหรับสกายวอล์ค ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง (Skywalk ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง) ตั้งอยู่บริเวณจุดชมวิวทะเลหมอกอัยเยอร์เวง (ข้างจุดชมวิวเดิม) ต.อัยเยอร์เวง อ.เบตง จ.ยะลา บนระดับความสูง 2,038 ฟุต จากระดับน้ำทะเล
สกายวอล์คแห่งนี้ ใช้งบประมาณการก่อสร้างกว่า 90 ล้านบาท เป็นอาคารโครงสร้างเหล็ก มีความสูง 45 เมตร มีบันไดให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นไปชมวิว และลิฟต์ให้บริการสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ
สกายวอล์ค ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง มีไฮไลท์สำคัญ คือ ระเบียงทางเดินที่ยื่นออกไปจากฐานมีความยาวรวม 63 เมตร ส่วนปลายเป็นระเบียงชมวิวพื้นกระจกใสที่สามารถมองทะลุลงไปได้ถึงพื้นเบื้องล่าง ซึ่งสร้างเสน่ห์สีสัน และความตื่นเต้นให้กับนักท่องเที่ยว
สกายวอล์คฯ แห่งนี้ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและแลนด์มาร์คใหม่ของ อ.เบตง มีความโดดเด่นในเรื่องของการชมพระอาทิตย์ขึ้นรับแสงแรกยามเช้าตรู่ของวัน ควบคู่ไปกับการชมทะเลหมอกอันงดงาม ซึ่งสามารถเห็นทะเลหมอกได้ตลอดทั้งปี
นอกจากนี้ก็ยังมีวิวทิวทัศน์ของผืนป่า ฮาลา – บาลา ทะเลสาบเขื่อนบางลาง รวมถึงสามารถมองไปไกลได้ถึง ประเทศมาเลเซีย เลยทีเดียว
ทั้งนี้เมื่อสกายวอล์ค ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ จะเป็นสิ่งดึงดูดให้ทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวมาเลเซีย (หลังเปิดประเทศในอนาคต) ให้เข้ามาเที่ยวในอำเภอเบตงเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่เป็นจำนวนมาก
คำขวัญประจำจังหวัด
“ ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน ”
ประวัติจังหวัดยะลา
ประวัติความเป็นมาของจังหวัดยะลา คำว่า “ยะลา” มาจากภาษาพื้นเมืองเดิมว่า “ยะลอ” ซึ่งแปลว่า “แห” ตามประวัติตั้งแต่สมัย สุโขทัยถึงตอนต้นกรุงรัตนโกสิทร์นั้น “เมืองยะลา” เป็นส่วนหนึ่งของเมืองมณฑลปัตตานี ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงโปรดเกล้าให้มีการปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาคใหม่ เป็นการปกครองแบบเทศาภิบาล โดยออกประกาศข้อบังคับสำหรับการปกครอง ๗ หัวเมือง ร.ศ.๑๒๐ ซึ่งประกอบด้วย เมืองปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง สายบุรี ยะลา ระแงะ และเมืองรามัน ในแต่ละเมืองมีพระยาเมืองเป็นผู้รักษาราชการ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของข้าหลวงเทศภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ ได้มีการยุบเลิกมณฑลปัตตานี และได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน “เมืองยะลา จึงเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน” สำหรับเมืองยะลา ได้มีการโยกย้ายที่ตั้งมาแล้ว ๔ ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ ๑ ตั้งเมืองอยู่ที่ตำบลบ้านยะลา ครั้งที่ ๒ ได้ย้ายเมืองไปตั้งที่ตำบลท่าสาป (ฝั่งซ้ายของแม่น้ำปัตตานี) ครั้งที่ ๓ ได้ย้ายไปตั้งที่เมืองสะเตง (ทางฝั่งขวาของแม่น้ำปัตตานี) ครั้งที่ ๔ ได้ย้ายไปตั้งที่ตำบลบ้านนิบง ในสมัยอำมาตย์โทพระรัฐกิจวิจารณ์ (สวาสดิ์ ณ นคร) ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา คนที่ ๑๐ (พ.ศ.๒๔๕๖ – ๒๔๕๘) ได้วางผังเมืองด้วยการหาจุดศูนย์กลางใจเมือง โดยการปักหลักไว้และเอาก้อนหินวางไว้เป็นเครื่องหมาย เรียกว่า “กิโลศูนย์” และลากเส้นวงกลมเป็นชั้น ๆ มีถนนรองรับเป็นตาข่ายลักษณะใยแมงมุมที่สวยงามที่สุดของประเทศไทยและได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดความสะอาด ๓ ปีซ้อน (พ.ศ.๒๕๒๘-๒๕๓๐) และในปี ๒๕๔๐ ได้รับการคัดเลือกจากองค์การอนามัยโลกยกให้เป็น ๑ ใน ๕ เมืองของประเทศไทยในโครงการเมืองน่าอยู่ทั่วโลก คำขวัญประจำจังหวัดยะลา “ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน” ตราประจำจังหวัดยะลา รูปเหมืองแร่ดีบุก หมายถึง พื้นที่ของจังหวัดยะลาอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ดีบุก และอาชีพหลักของ ประชาชนในอดีต คือ การทำเหมืองแร่ดีบุก ธงประจำจังหวัดยะลา แถบบนสีเขียว แถบล่างสีขาว สัตว์ประจำจังหวัดยะลา ช้างเผือก ต้นไม้ประจำจังหวัดยะลา ต้นศรียะลา ดอกไม้ประจำจังหวัดยะลา ดอกพิกุล วิสัยทัศน์จังหวัดยะลา ยะลาเมืองน่าอยู่ คู่สันติสุข ขนาด ที่ตั้ง อาณาเขตติดต่อ จังหวัดยะลา เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๕ – ๗ องศาเหนือและ เส้นแวงที่ ๑๐๐ – ๑๐๒ องศาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครตามทางรถไฟสายใต้ ๑,๐๓๙ กิโลเมตร และตามถนนเพชรเกษมสายเก่า ๑,๓๙๕ กิโลเมตร หรือสายใหม่ ๑,๐๘๔ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๔,๕๒๑ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒.๘ ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ ๖.๔ ของพื้นที่ภาคใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง คือ ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดสงขลา และปัตตานี ทิศใต้ ติดต่อกับ รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดนราธิวาส และรัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดสงขลา และรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ที่ตั้งและอาณาเขต
Booking.comที่มาข้อมูล คลิกที่นี่
สอบถาม ได้ที่ 065 213 7788 หรือ เข้าชมโปรแกรมทัวร์ต่างๆ ได้เลย คลิกที่นี่